top of page

คำว่า “มหาราชา” มีความหมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีความสามารถและสง่างาม  ผู้ครองนครในประเทศอินเดียในครั้งอดีตมีอิทธิพลอย่างมากทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและสังคมทั้งในอินเดียเองและยุโรป ทั้งหมดนี้เนื่องมาจากอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์ในครั้งอดีตนั่นเอง.

จากบันทึกของอลัน บูเชอรอนในหนังสือ The Master Jeweler ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Times กล่าวไว้ว่า:

"มหาราชาได้เดินทางมาถึงเมือง Boucheron ในปี 1927 โดยมีข้าทาสบริวารตามเสด็จมา 40 คนซึ่งทุกคนล้วนสวมผ้าโพกศรีษะสีชมพู ตามด้วยนักเต้นส่วนพระองค์ 20 คนและที่สำคัญที่สุดคือตะกร้าใบใหญ่ 6 ใบที่บรรจุเพชรจำนวน 7,571 เม็ด มรกต แซฟไฟร์ ทับทิมและมุกรวมกว่า 1,432 เม็ดที่ประเมินค่าความงามไม่ได้."

เรามาดูภาพความยิ่งใหญ่อลังการของมหาราชาอินเดียที่เป็นที่ร่ำลือกันถึงความมั่งคั่งร่ำรวยประดับด้วยเครื่องประดับล้ำค่าประเมินค่าไม่ได้กันค่ะ

เราได้พยายามระบุถึงแหล่งที่มาของภาพในหน้าเว็บนี้ทั้งหมดแต่บางภาพก็ไม่สามารถระบุได้ หากคุณผู้อ่านรู้ที่มาของภาพรบกวนแจ้งให้เราทราบด้วยนะคะเพื่อจะได้ใส่ reference ในท้ายบทความ ขอบคุณค่ะ.

กษัตริย์ยาดาวินดรา ซิงห์ กับสร้อยคอพาเทียล่า.

สร้อยพาเทียลาเส้นนี้ออกแบบโดยเจ้าของบริษัท Cartier เมื่อปี 1928  เพื่อมอบให้แก่มหาราชา มีลักษณะเป็นสร้อยคอ 5 แถวประดับด้วยเพชรพลอยเม็ดใหญ่จำนวนมาก สร้อยมีน้ำหนักมากถึง 1,000 กะรัต.

เพชรเม็ดที่อยู่ตำแหน่งกลางของสร้อยนี้เป็นเพชรจาก De Beers ที่เป็นรูปทรงคูชั่นสีเหลืองอ่อนหนักประมาณ 234.69 กะรัต.

สร้อยคอพาเทียลา

กษัตริย์ยาดาวินดรา ซิงห์ กับสร้อยคอพาเทียล่าของเขา ภาพนี้ถ่ายในปีคศ. 1930s.

ภาพของฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier) เจ้าของบริษัท Cartier กับนักค้าอัญมณีชาวอินเดียในปีคศ. 1911.

ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier) เจ้าของบริษัท Cartier  เดินทางมาเยือนประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกในปีคศ. 1911 และหลังจากนั้นมาเขาก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับมหาราชาเซอร์ บูพินเดอร์ ซิงห์จนทราบดีถึงรสนิยมความชอบของกษัตริย์.

เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าฟ้าชายยาดาวินดรา ซิงห์ซึ่งเป็นบุตรชายของมหาราชา เซอร์ บูพินเดอร์ ซิงห์หลงใหลในอัญมณีมีค่าต่างๆ.

ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier) ได้นำเสนอสร้อยคอเพชรสีสันหลากหลายที่งดงามแพรวพราวนี้กับมหาราชา Nawanagar แต่น่าเสียดายที่มหาราชามีช่วงเวลาชีวิตที่ได้ใส่สร้อยเส้นนี้สั้นนัก.

มหาราชา Nawanagar สวรรคตลงในปี 1933 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 2 ปีหลังจากที่สร้อยเส้นนี้ได้ถวายให้กับพระองค์.

สร้อยคอของมหาราชา Nawanagar

ภาพวาดร่างของสร้อยที่ฌัก การ์ตีเยได้ทำและถวายให้กับมหาราชา Nawanagar ในปี 1931.

สร้อยคอเพชร Baroda

สร้อยคอเพชร Baroda นี้เป็นของมหาราชา Baroda แห่งประเทศอินเดีย สร้อยประดับไปด้วยเพชรและมรกตที่งดงาม พระองค์ได้สวมสร้อยเส้นนี้ในปี 1860

.

กล่าวกันว่าสร้อยเส้นนี้ได้ถูกตัดแบ่งในปี 1940 เพื่อนำอัญมณีมาทำเป็นสร้อยข้อเท้าของพระนางสิตาเทวี มหาราชินี Badora นั่นเอง

จากบันทึกพระคลังสมบัติของมหาราชา Baroda สร้อยคอที่มีเพชรเรียงกัน 3 เม็ดตรงกลางที่เราเห็นในภาพนี้สวมโดยพระนางสิตาเทวี มหาราชินี Badora ในปี 1948

ราชวงศ์ Gaekwar แห่งนคร Baroda ได้สั่งทำสร้อยคอเส้นนี้ขึ้นมาจัดโชว์เพชร Star of the South ซึ่งมีสีน้ำตาลอมชมพูขนาด 128.48 กะรัต ส่วนอีกเม็ดมีน้ำหนัก 78.5 กะรัต

ไข่มุกแห่งเมืองอินดอร์

ภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบโดยศิลปินชื่อ Bernard Boutet de Monvel  ในภาพคือกษัตริย์ผู้ครองนครอินดอร์ของอินเดีย วาดไว้ในปี 1933 ขนาดภาพ .

85 x 85 ซม

ออกวางจำหน่ายในปี 2016 ด้วยราคาสูงถึง 2,499,000 ยูโร.

เอื้อเฟื้อภาพโดย: Sotheby's.

Bernard Boutet de Monvel  ศิลปินผู้วาดรูปนี้ได้วาดภาพของกษัตริย์ผู้ครองเมืองอินดอร์ ประเทศอินเดียซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและยังหนุ่มแน่น รูปร่างกำยำสูงถึง 180 ซม. ทรงฉลองพระองค์ในชุดพื้นบ้านนั่งประทับที่ท้องพระโรงซึ่งมีฉากหลังเป็นสีขาวซีด

กษัตริย์ผู้ครองเมืองอินดอร์ใส่สร้อยคอเพชร 2 เส้นที่มีเพชรเม็ดกลางรูปทรงหยดน้ำหนัก 47 กะรัต

กษัตริย์ Sawai Jai Sing Bahadur ผู้ครองนครอัลวาร์ประสูติในปี 1882 ในภาพนี้พระองค์ฉลองพระองค์กับเครื่องประดับพร้อมเครื่องราชกกุธภัณฑ์

Maharajah Sayaiji-Rao, Gaekwar, Baroda. 1902.

กษัตริย์ Sayaiji แห่งราชวงศ์ Gaekwar ผู้ครองเมือง Baroda

กษัตริย์อินเดียทุกพระองค์มักฉายพระรูปของพระองค์เองกับเครื่องแต่งกายที่แสดงถึงยศพร้อมประดับด้วยเครื่องประดับชิ้นสำคัญที่พระองค์มีเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวยมั่งคั่งและอำนาจของพระองค์ในยุคนั้นๆ ดังภาพนี้กษัตริย์ Sayaiji ฉลองเครื่องประดับด้วยสร้อยคอเพชรถึง 7 เส้น

ภาพขนาดเล็กที่จัดแสดงที่หอศิลป์นานาชาติที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียรูปนี้เป็นภาพที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของอินเดียกับนานาประเทศ เนื่องจากภาพนี้เป็นภาพของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 กับพระราชินีอเล็กซานดร้าซึ่งฉลองพระองค์ฉายพระรูปร่วมกัน ทำให้นึกถึงกษัตริย์และพระราชินีของอินเดียเพราะฉลองพระองค์มีความคล้ายคลึงกัน

ภาพวาดของกษัตริย์ประทับ ซิงค์ (1764-1803) ในท้องพระโรงซึ่งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าชายแห่งเมือง Jaipur ในขณะนั้น (ปี 1778) พระองค์มีพระชนมายุ 14 พรรษา และประมาณ 15 ปีก่อนที่จะวาดรูปนี้พระองค์ได้นิพนธ์บทกวีที่มีชื่อเสียงชื่อ Palace of the Winds บรรยายถึงความงามของพระราชวังเมือง Jaipur

.

ที่พระราชวังของพระองค์มีห้องจัดแสดงศิลปะซึ่งจะมีศิลปินรังสรรค์ผลงานกันอยู่ที่นั่นกว่า 50 คน

bottom of page