top of page

เพชรโคอินัวร์

"ภูเขาแห่งแสง"

_89306627_89306626.jpg
kohinoor111.jpg

ปีคศ.1306

ในปี 1306 เพชรโคอินัวร์ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ได้ถูกตั้งชื่อว่าโคอินัวร์ ได้ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีว่าเป็นของกษัตริย์มัลวา หลังจากนั้นเรื่องราวก็สูญหายไปกับกาลเวลาจนมาปรากฏอีกทีในบันทึกที่สถาบันสมิทโซเนียนโดยกล่าวไว้ว่าเพชรโคอินัวร์นี้เป็นของกษัตริย์โบราณตั้งแต่3,000 ปีก่อนยุคพุทธกาล นอกจากนี้ยังมีบันทึกของนาย Harsh K Gupta นักตรวจสอบแผ่นดินไหวที่ระบุว่าเพชรโคอินัวร์ถูกขุดขึ้นที่เมือง Guntur ซึ่งปัจจุบันนี้คือเมืองAndhra Pradesh ในประเทศอินเดีย

main-qimg-b6627fd5fb8cf9672749af49f8fad8

ปีคศ.1526:

ในปี 1526 โคห์อินัวร์ถูกนำมาเป็นบรรณาการแด่จักรพรรดิ ‘บาบูร์’ (Babur) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล เมื่อพระองค์สามารถยึดครองกรุงเดลีและอักราได้

ต่อมาโคอินัวร์ได้ตกทอดมาถึง ‘ชาห์ เจฮาน’ (Shah Jahan) จักรพรรดิโมกุลองค์ที่ 5 ผู้สร้างทัจมาฮาล และต่อมาก็ได้ตกเป็นของราชบุตรของเจฮานคือ ‘ออรังเซ็บ’ (Aurangzeb) ทว่าสุดท้ายโคห์อินัวร์ก็ถูกแย่งชิงไปอีกทีโดยหลานของเขาชื่อสุลต่าน มาฮาหมัด.

1_5D1vodc6N0mRA9UIr-AqIw.png

ปีคศ.1739:

ในปี 1739 มีสงครามเปอร์เซียนำโดยจักรพรรดิ ‘นาดีร์ ชาห์’ แห่งเปอร์เซีย เมื่อกรีฑาทัพเข้ากวาดล้างอินเดีย

จนชนะสุลต่าน มาฮาหมัด จักรพรรดิของเมืองเดลี จักรพรรดิ ‘นาดีร์ ชาห์’ แห่งเปอร์เซียจึงได้ครอบครองเพชรโคอินัวร์ และอีก 8 ปีต่อมาพระองค์ก็ถูกลอบสังหาร

.

หลังจากนาดีร์ชาห์ถูกสังหาร โคอินัวร์ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลานของพระองค์ ผู้ซึ่งต่อมาได้มอบเพชรเม็ดนี้ให้กับ ‘อาห์เหม็ด ชาห์ ดูร์รานี’ (Ahmad Shah Durrani) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิอัฟกานิสถาน ทั้งหมดนี้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือชื่อประวัติศาสตร์เพชรโคอินัวร์ (the Brightest Jewel in the British Crown).

biography_big.jpg

ปีคศ.1813

ผู้รับสืบทอดมรดกจากอาห์เหม็ด ชาห์ (Ahmad Shah) คือ ‘ชูจา ชาห์ ดูร์รานี’ (Shuja Shah Durrani) ในตอนนั้นเขาทะเลาะและสู้รบกับพี่ชายต้นกระทั่งถูกโค่นล้มบัลลังก์จนต้องหนีมาที่อินเดียเมืองปัญจาบ พร้อมด้วยเพชรโคห์อินัวร์ ทว่าโชคร้าย, เมื่ออยู่ที่นั่นเขาถูก ‘รันจิต ซิงห์’ (Ranjit Singh) จักรพรรดิผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ คุกคามเอาเพชรไปและครอบครองไว้อย่างหวงแหน .

จากนั้นมีบันทึกของลอร์ด ดาวฮูซี่ระบุว่าพระราชินีของชูจา ชาห์ที่ชื่อว่า “วูฟ่า เบกัม” (Wufa Begum) ได้กล่าวเอาไว้เกี่ยวกับเพชรโคห์อินัวร์ว่าหากเราโยนก้อนหิน 5 ก้อนไปในแต่ละทิศ ก้อนที่ 1 ไปทางทิศเหนือ ก้อนที่ 2 ไปทางทิศใต้ ก้อนที่ 3 ไปทิศตะวันออก ก้อนที่ 4 ไปทิศตะวันตก อีก 1 ก้อนโยนไปบนอากาศ ระหว่างหินแต่ละก้อนมีทองคำปรากฏอยู่เต็มพื้นที่ มูลค่าของทองคำที่ปรากฏนั้นก็ยังน้อยกว่ามูลค่าของเพชรโคห์อินัวร์ 

1a978e3f652b97a702b10fcbc745bd5f.jpg

ปีคศ.1839-1843:

หลังจากที่จักรพรรดิ์รันจิต ซิงห์สวรรคต เพชรโคห์อินัวร์และราชบัลลังก์ก็สืบทอดต่อไปที่รัชทายาทของพระองค์อย่างไรก็ตามได้มีศึกช่วงชิงราชบัลลังก์ในปี 1843 ทำให้สุดท้ายแล้วราชบัลลังก์จึงเป็นของดูลิป ซิงห์ (Duleep Singh) ผู้สืบเชื้อสายโดยมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเท่านั้นและเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของอินเดียที่ได้ครอบครองเพชรโคห์อินัวร์ 

ปีคศ.1849:

ในปี 1849 เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับจักรวรรดิซิกข์หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Anglo-Sikh war ทำให้อังกฤษสามารถยึดครองราชอาณาจักรปันจาบได้สำเร็จ นับแต่นั้นมาจักรวรรดิซิกข์ถูกผนวกเข้าเป็นอาณานิคมของกลุ่มบริษัทอินเดียตะวันออก (British East India Company) บริษัทได้ทำสนธิสัญญา ‘Last Treaty of Lahore’ กับผู้นำชาวซิกข์เพื่อยึดครองปันจาบ โดยบังคับให้ดูลิป ซิงห์จักรพรรดิของซิกข์คนสุดท้ายซึ่งในตอนนั้นมีพระชนม์มายุเพียง 11 พรรษาส่งมอบเพชรโคห์อินัวร์ให้กับตนดังปรากฏในข้อที่สามของสัญญา ก่อนที่พระองค์จะถูกถอดออกจากราชบัลลังก์.
สำหรับสนธิสัญญาข้อที่ 3 ได้ระบุไว้ว่าให้จักรพรรดิส่งมอบเพชรโคห์อินัวร์ถวายแด่สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ.

Queen-Victoria-red-velvet.png

ปีคศ.1852:

ในปี 1852 เพชรโคห์อินัวร์ ได้ถูกนำมาจัดแสดงให้ปรากฏแก่สายตาสาธารณชนที่ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามเจ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามีของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งกฤษทรงไม่โปรดที่เพชรเม็ดนี้จะไม่ได้รับการเจียระไนที่สวยงามเท่าที่ควร ดังนั้นพระองค์จึงมีพระกระแสรับสั่งให้นำเพชรเม็ดนี้ไปขัดเงาเต็มที่แล้วเสร็จซึ่งใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 38 วัน การขัดเงานี้ทำให้น้ำหนักของเพชรหายไป 42 เปอร์เซ็นต์คือเดิมหนัก 186 กะรัต (37.2 กรัม) เหลือเพียงแค่ 105.6 กะรัต (21.12 กรัม)

Queen_Mary's_Crown.png

นับแต่นั้นมา:

แม้จะมีการเรียกร้องสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเพชรโคห์อินัวร์ปากทาง 4 ประเทศได้แก่อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถานและประเทศอังกฤษแต่ถ้าว่าประเทศอังกฤษนั้นก็ได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ณ ช่วงเวลาปัจจุบันนี้.
ในปี 2015 ประเทศอินเดียได้มีความพยายามเรียกร้องเพชรโคห์อินัวร์กลับคืนสู่ประเทศอินเดีย นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า Andrew Robert กล่าวข้อโต้แย้งกรณีนี้ว่าการที่หลายประเทศพยายามเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความเป็นเจ้าของเพชรโคห์อินัวร์นั้น โปรดจำไว้ว่าตอนนี้มงกุฎเพชรโคห์อินัวร์นั้นเป็นของประเทศอังกฤษและได้ถูกวางไว้และจัดแสดงเป็นอย่างดีถูกสถานที่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับอินเดียอันยาวนานกว่า 3 ศตวรรษ ซึ่งเพชรโคห์อินัวร์เป็นสิ่งที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของ 2 ประเทศกล่าวคือทำให้เห็นความทันสมัยและพัฒนาการของสองประเทศนี้ มีการประมวลภาษาเข้าเป็นหนึ่งเดียวและที่สำคัญที่สุดคือยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของทั้งสองประเทศอีกด้วย .

bottom of page